1. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่จะสั่งและควบคุมให้ฮาร์ดแวร็คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถจับต้อง ซอฟต์แวร์ ได้โดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์ดแวร์ เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์ ซอฟต์แวร์ ที่มักติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำงานทันที่ที่เปิดเครื่องคือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
ชนิดของซอฟต์แวร์
1.ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software) คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่นการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงานแล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน
- ตัวแปลภาษาจาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์ใจให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อนแล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำส่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
- ยูทิลิตี้โปรแกรม (Utility Program) คือ
ซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล
ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากรในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ เมื่อออบแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ แล้วทำงการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของการรถไฟ ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย ซอฟต์แวร์ของการบินไทย ซอฟต์แวร์บริหารกการศึกษาเป็นต้น
3.โปรแกรมสำเร็จรูป(Package Software)คือ
ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในสำนักงานทั่ว ๆ ไป
สร้างโดยบริษัทที่มีความชำนาญในด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะมีการปรับปรุงรุ่น (Version)
ของซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธภาพสูงขึ้นอยู่เสมอ สามารถแบ่งออกเป็นประเภท
ตามลักษณะหน้าที่การทำงานได้ดังนี้คือ
-
โปรแกรมประมวลผลคำ ใช้สำหรับพิมพ์เอกสารรายงานหรือสร้างตารางแบบต่าง ๆ
-
โปรแกรมตารางงาน ใช้สำหรับคำนวณ สร้างกราฟ และจัดการด้านฐานข้อมูล
-
โปรแกรมนำเสนอผลงาน ใช้ในการนำเสนอผลงานและนำเสนอข้อมูลในรูแปบบสไลด์
-
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล
-
โปรแกรมเว็บเพจ ใช้ในการเขียนเว็บเพจเพื่อใช้งานในเว็บไซต์ของอินเทอร์เน็ต
-
โปรแกรมสื่อสารระยะไกล ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
- โปรแกรมเขียนแบบ
ใช้ในการออกแบบและเขียนแบบด้านต่าง ๆ เช่น ชิ้นงาน อาคาร
- โปรแกรมการฟิกส์
ใช้ในการสร้างและจัดการรูปภาพในคอมพิวเตอร์
- โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ได้แก่
เกมส์ ภาพยนต์และเสียงเพลงต่าง ๆ
(แหล่งอ้างอิง:http://www.tuadi.com/wp-content/uploads/2012/09/Software.jpg)
***สรุป : ซอฟต์แวร์เป็นโปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานและจัดเก็บงานิ
2. ระบบปฎิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ
โอเอส (OS) เป็น
ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง
ฮาร์ดแวร์และ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็น
เฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่อง
คอมพิวเตอร์
เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์
เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่
จอภาพ
การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจาก
ฮาร์ดดิสก์
การรับส่งข้อมูลใน
ระบบเครือข่าย
การส่งสัญญานเสียงไปออก
ลำโพง
หรือจัดสรรพื้นที่ใน
หน่วยความจำ
ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้
หน่วยประมวลผลกลาง
ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์
ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง
เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ
ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
3. โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์
ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์
(Translator)
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้น
โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ตามแต่ความชำนาญของแต่ละคน
โปรแกรมที่ได้จะเรียกว่า โปรแกรมต้นฉบับ หรือ ซอร์สโคด (source
code) ซึ่งมนุษย์จะอ่านโปรแกรมต้นฉบับนี้ได้แต่คอมพิวเตอร์จะไม่เข้าใจคำสั่งเหล่านั้น
เนื่องจากคอมพิวเตอร์เข้าใจแต่ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งประกอบขึ้นจากรหัสฐานสองเท่านั้น จึงต้องมีการใช้โปรแกรม
ตัวแปรภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator)
ในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาต่าง ๆ
ไปเป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่แปลจากโปรแกรมต้นฉบับแล้วเรียกว่า ออบเจคโคด
(object code) ซึ่งจะประกอบด้วยรหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ต่อไปตัวแปลภาษาที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน
จะต่างกันที่ขั้นตอนที่ใช้ในการแปลภาษาให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้สามารถแบ่งได้เป็น
4. โปรแกรมมอรรถประโยชน์
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (
อังกฤษ:
utility program/software) เรียกสั้นๆ ว่า
ยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบน
ระบบปฏิบัติการ
ส่วนมากใช้เพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ
คอมพิวเตอร์
คุณสมบัติการใช้งานนั้นค่อนข้างหลากหลาย ยูทิลิตี้แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ
ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ IOS (OS utility program) และ ยูทิลิตี้อื่นๆ
(stand-alone utility program)
5. การใช้งานซอฟต์แวร์ประยุกต์
โปรแกรมประยุกต์ หรือ
ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน (
อังกฤษ:
application software) ในบางครั้งเรียกย่อว่า
แอปพลิเคชัน คือ
ซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งสำหรับใช้งานสำหรับงานเฉพาะทาง
ซึ่งแตกต่างกับซอฟต์แวร์ประเภทอื่น เช่น
ระบบปฏิบัติการ
ที่ใช้สำหรับรับรองการทำงานหลายด้าน โดยไม่จำเพาะเจาะจง
ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์ เช่น
ใน ปัจจุบัน แอปพลิเคชัน บนระบบปฏิบัติการ
Android และ บน ระบบปฏิบัติการ iOS
กำลังเป็นที่สนใจและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Apps เพื่อความบันเทิง
สุขภาพ การศึกษา ฯลฯ
6. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้าน
หรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียนคือโปรแกรมเมอร์
(programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
และต้องศึกษาทำความเข้าใจเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น
โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ
ตามปกติจะไม่ค่อยได้พบเห็นซอฟต์แวร์ประเภทนี้ในท้องตลาดทั่วไป
แต่จะซื้อหาได้จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูงกว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย
ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้า และระบบหลักของงาน
ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย
และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้
มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียว หรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน
ในประเทศไทยมีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง
ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับงานด้านธุรกิจ
ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้ |
| | | | |
(แหล่งอ้างอิงhttp://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/t2.htm ) |
***สรุป
โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่จะสั่งและควบคุมให้ฮาร์ดแวร็คอมพิวเตอร์ทำงาน
เราไม่สามารถจับต้อง ซอฟต์แวร์ ได้โดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์ดแวร์
เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น
แผ่นดิสก์ ซอฟต์แวร์
ที่มักติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำงานทันที่ที่เปิดเครื่องคือ
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ สรุปแล้ว ซอฟต์แวร์ คือ
โปรแกรมชุดคำสั่งไว้ควบคมคอมฯให้ทำงาน
|
| | | | |
|
|
|
|
|
|
|